วันพุธที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2556



1. แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ประเภทบุคคล

    โมจิ  แม่กุหลาบ  จังหวัดนครสวรรค์





ประวัติความเป็นมา
ขนมโมจิเป็นขนมของญี่ปุ่น ซึ่งประเทศญี่ปุ่นเป็นต้นตำรับของขนมโมจิ แล้วต่อมาได้มีคนไทยไปเที่ยวที่ประเทศญี่ปุ่นได้ซื้อขนม โมจิกลับมาเพื่อเป็นของฝากจากประเทศญี่ปุ่น และได้ลองทานดูปรากฏว่า โมจิแข็ง และมีรสชาติที่ไม่อร่อยถูกปากคนไทยจึงได้มีการดัดแปลง รสชาติความอร่อยให้ถูกปากคนไทยและขนมโมจิได้ถือกำเนิดที่ประเทศไทยจังหวัดนครสวรรค์ เป็นแห่งแรกของ ประเทศ เมื่อประมาณ 20กว่าปีและขนมโมจิที่ขึ้นชื่อของจังหวัด จึงถือได้ว่าขนมโมจิเป็นของฝากจากจังหวัดนครสวรรค์ที่คนทั้งประเทศได้รู้จักและเมื่อไหร่ที่มาจังหวัดนครสวรรค์หรือผ่านมาจะต้องซื้อไปเป็นของฝาก จนถึงขณะนี้เรียกได้ว่าขนมโมจิเป็น ขนมประจำจังหวัดนครสวรรค์ มานครสวรรค์จึงต้องซื้อขนมโมจิแม่กุหลาบ



2. แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ประเภทธรรมชาติ

    บึงบอระเพ็ด  จังหวัดนครสวรรค์




บึงบอระเพ็ด เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงามที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย และเป็นบึงทะเลสาบน้ำจืดขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีเนื้อที่ 132,737 ไร่ อยู่ในท้องที่สามอำเภอของจังหวัดนครสวรรค์ ได้แก่ อำเภอเมืองนครสวรรค์ อำเภอท่าตะโก และอำเภอชุมแสง เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดนครสวรรค์ กลางบึงมีตำหนักแพที่สร้างขึ้นครั้งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินแปรพระราชฐาน
เดิมบึงบอระเพ็ดแห่งนี้มีชื่อว่า "ทะเลเหนือ" หรือ "จอมบึง" เนื่องจากมีสัตว์และพันธุ์พืชน้ำเป็นจำนวนมาก รวมทั้งจระเข้ จากการสำรวจพบว่ามีสัตว์อาศัยอยู่ประมาณ 148 ชนิด พืช 44 ชนิด มีพันธุ์สัตว์ที่หายากได้แก่นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร (พบครั้งแรกที่บึงบอระเพ็ด) ปลาเสือตอ ในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงมีนาคมจะมีนกเป็ดน้ำอพยพมาที่บึงแห่งนี้เป็นจำนวนมาก พื้นที่บางส่วนได้รับการประกาศให้เป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่า

ประวัติความเป็นมาและการพัฒนา

พื้นที่ของบึงบอระเพ็ดในอดีตนั้นเป็นที่ราบลุ่ม แวดล้อมไปด้วยป่าไม้เบญจพรรณอันอุดมสมบูรณ์ มีลำคลองเล็กๆ ไหลผ่านและประกอบไปด้วยหนองน้ำหลายแห่ง เมื่อถึงฤดูฝนจะมีน้ำทางเหนือไหลหลากทำให้บริเวณบึงบอระเพ็ดมีน้ำท่วมเป็น บริเวณกว้างจนกลายเป็นทะเลสาบน้ำจืดขนาดใหญ่ อุดมไปด้วยสัตว์น้ำนานาชนิด ทั้งพันธุ์ปลาชนิดต่างๆ จระเข้ กุ้งก้ามกรามและตะพาบน้ำ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องจระเข้แล้วเป็นที่เลื่องลือกันว่าบึงบอระเพ็ดมี จระเข้ชุกชุมมาก จนผู้คนที่นั่งรถไฟผ่านบึงบอระเพ็ดสามารถมองเห็นจระเข้ที่ลอยอยู่ในบึงและ ส่วนหนึ่งก็ขึ้นมานอนผึ่งแดดตามชายบึงหรือบนเกาะ
ในปี พ.ศ. 2466 ดร.ฮิวจ์ เอ็ม สมิท ชาวอเมริกันซึ่งเป็นที่ปรึกษาด้านการประมง กระทรวงเกษตราธิการได้ออกสำรวจบึงบอระเพ็ดและได้รายงานผลการสำรวจเมื่อวัน ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2466 ว่าบึงบอระเพ็ดเป็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่และมีความสำคัญมากเกี่ยวกับเรื่องการ ประมง เพราะว่าเป็นแหล่งพันธุ์ปลา เป็นทำเลที่ปลาอาศัยเลี้ยงตัว วางไข่ และแพร่พันธุ์ ควรจะมีการบำรุงรักษาให้เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของปลา
กระทรวงเกษตราธิการจึงได้นำเรื่องนี้กราบบังคมทูลขอพระบรมราชานุญาตสงวนบึง บอระเพ็ดไว้เป็นที่สงวนพันธุ์สัตว์น้ำ โดยการสร้างคันกั้นน้ำและประตูระบายน้ำ เพื่อเก็บกักน้ำที่ระดับ 23.80 ร.ท.ก. ตลอดปี และได้รับพระบรมราชานุญาตให้ดำเนินการเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2469 การก่อสร้างทำนบกั้นน้ำและประตูระบายน้ำเริ่มจากปี พ.ศ. 2470 และเสร็จในปี พ.ศ. 2471 สามารถกักเก็บน้ำได้ตลอดปี
กระทรวงพระคลังมหาสมบัติในเวลานั้นได้ประกาศกำหนดเขตบึงบอระเพ็ดไว้เป็นที่ รักษาพืชพันธุ์ปลาน้ำจืด ในปี พ.ศ. 2471 และพิจารณาแก้ไข ในปี พ.ศ. 2473 โดยกำหนดเนื้อที่ประกาศเป็นเขตหวงห้ามไว้ประมาณ 250,000 ไร่ และต่อมารัฐบาลได้ตราพระราชกฤษฎีกา ลงวันที่ 4 สิงหาคม 2480 ถอนการหวงห้ามเหลืออยู่จนถึงปัจจุบัน 132,737 ไร่ 56 ตารางวา โดยมีอาณาเขตติดต่อกัน 3 อำเภอ คือ อำเภอเมือง อำเภอชุมแสง และอำเภอท่าตะโก ในปี พ.ศ. 2490 กระทรวงเกษตราธิการได้แบ่งเขตรักษาพืชพันธุ์ออกเป็น 2 เขต คือ
เขตที่ 1 เป็นเขตหวงห้ามมิให้ผู้ใดทำการประมง โดยเด็ดขาด มีเนื้อที่ 38,850 ไร่
เขตที่ 2 เป็นเขตหวงห้ามที่อนุญาตให้ราษฎรทำการประมง โดยใช้เครื่องมือบางชนิดที่กำหนดให้ใช้ได้ มีเนื้อที่ 93,887 ไร่ 56 ตารางวา

3. แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ประเภทสื่อ   
    สื่อท้องถิ่น
    แห่มังกร  ตรุษจีน  จังหวัดนครสวรรค์

    จังหวัดนครสรรค์ ขอเชิญทุกท่านร่วมงาน "เทศกาลตรุษจีนนครสวรรค์ และงานแห่เจ้าพ่อ เจ้าแม่ปากน้ำโพ ประจำปี 2556" ตั้งแต่วันที่ 3 - 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 ณ ถนนสายสำคัญในเขตเทศบาลเมือง จังหวัดนครสวรรค์ 

          นครสวรรค์ เมืองต้นแม่น้ำเจ้าพระยา มีชื่ออีกชื่อที่คนทั่วไปรู้จักคือ "ปากน้ำโพ" เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ระหว่างภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันนครสวรรค์นับว่าเป็นประตูสู่ภาคเหนือ ส่วนปากน้ำโพจัดเป็นศูนย์กลางทางการค้า เป็นแหล่งเศรษฐกิจที่สำคัญของจังหวัด ชาวจีนหลายเชื้อสายที่อพยพเข้ามาตั้งรกรากทำมาหากิน และอาศัยอยู่ตามริมแม่น้ำน่าน เรียกว่า "แควใหญ่" และบริเวณ "ต้นแม่น้ำเจ้าพระยา" คือ ตลาดปากน้ำโพ ซึ่งอยู่ทางฝั่งทิศตะวันตก

          บรรพบุรุษของชาวจีนนับถือเทพเจ้า เมื่อมาตั้งรกรากที่ใด ได้อัญเชิญเอาเทพเจ้าที่ตนนับถือติดตัวมาด้วย ชาวจีนในตลาดปากน้ำโพก็เช่นกัน พากันนับถือ เจ้าพ่อเทพารักษ์-เจ้าพ่อกวนอู-เจ้าแม่ทับทิม-เจ้าแม่สวรรค์ เมื่อมาอยู่ได้จัดตั้งศาลเพียงตาสำหรับเป็นที่ประทับของเจ้าพ่อ-เจ้าแม่ เพื่อกราบไหว้บูชา โดยตั้งขึ้น 2 ศาล คือ ศาลเจ้าพ่อเทพารักษ์ ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ทิศตะวันออกของตลาดปากน้ำโพ และ ศาลเจ้าแม่หน้าผา ริมฝั่งแม่น้ำปิงที่บ้านหน้าผา ขึ้นไปทางเหนือของตลาดปากน้ำโพ

 เมื่ออดีตประมาณ 100 ปีมาแล้ว ตลาดปากน้ำโพได้เกิดโรคอหิวาตกโรคระบาดครั้งใหญ่ ทำให้ผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก บรรดาชาวจีนในปากน้ำโพ ได้นำเอา "กระดาษฮู้" (กระดาษยันต์) จากศาลเจ้าไปเผาไฟแล้วเอาเถ้ากระดาษมาชงน้ำดื่มทำให้หายจากโรคระบาด เป็นที่เลื่องลือกันไปทั่ว ตั้งแต่นั้นมาชาวจีนในปากน้ำโพจึงได้อัญเชิญองค์เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ ทุกองค์แห่รอบตลาดปากน้ำโพ ในช่วงเทศกาลตรุษจีนของทุกปี จนกลายเป็นประเพณีสืบทอดกันมากกว่า 90 ปี เพื่อเป็นสิริมงคล และความเจริญก้าวหน้าด้านการค้า การเคารพกราบไหว้เปรียบเสมือนเทพเจ้าได้มาอวยชัยให้พรยังร้านค้าอันเป็น แหล่งทำกิน ในพิธีจะมีขบวนแห่มากมาย อาทิ เช่น สิงโต จากคณะเชื้อสายจีนต่าง ๆ เอ็งกอ ล่อโก้ว มังกรทอง ขบวนสาวงาม นางฟ้า ขบวนเจ้าแม่กวนอิม เป็นต้น

          อย่างไรก็ตาม การแห่มังกรทองที่จังหวัดนครสวรรค์มีชื่อเสียงมากในด้านความสวยงาม ทั้งในการแห่ช่วงกลางวันและช่วงกลางคืน เป็นการแสดงที่น่าตื่นเต้นเร้าใจ แต่ละปีมีนักท่องเที่ยวมาชมเป็นจำนวนมาก

4. แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ที่มนุษย์สร้างขึ้นประเภทวัตถุและอาคารสถานที่
    สวนนก  จังหวัดชัยนาท


 สวนนกชัยนาทเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้ริเริ่มขึ้นเมื่อต้นปี พ.ศ. ๒๕๒๖ ตั้งอยู่บริเวณเชิงเขาพลอง หมู่ที่ ๔  ตำบลเขาท่าพระ ริมถนนพหลโยธิน(ทางหลวงหมายเลข 1)ก่อนถึงตัวเมือง ๔ กิโลเมตร ในสมัยที่นายกุศล ศานติธรรม ดำรงตำแหน่งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดชัยนาท (พ.ศ. ๒๕๒๕-๒๕๒๗) ได้คาดหวังกันว่า หากมีการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวขึ้นแล้วก็จะสามารถเป็นที่จูงใจให้มีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าสู่จังหวัดชัยนาท และสามารทำความเจริญทางด้านเศรษฐกิจสู่ท้องถิ่นได้ระดับหนึ่ง โครงการก่อสร้างสวนนกชัยนาทจึงได้เริ่มขึ้นนับแต่นั้นเป็นต้นมา โดยกำหนดให้ก่อสร้างขึ้นในพื้นที่ ๕๐ ไร่ บริเวณที่ดินสาธารณประโยชน์ เชิงเขาพลองหมู่ที่ ๔ ตำบลเขาท่าพระ อำเภอเมืองขัยนาท จังหวัดชัยนาท ห่างจากตัวเมืองไปทางทิศตะวันออกประมาณ ๔ กิโลเมตร

                     เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๖ จังหวัดชัยนาท ได้ส่งข้าราชการสมาชิกสภาจังหวัดและนักธุรกิจภาคเอกชนในท้องถิ่น เดินทางไปศึกษาดูงานในกิจการสวนนกจูล่ง ณ ประเทศสิงคโปร์ โดยมีจุดประสงค์เพื่อรวบรวมข้อมูล ตลอดจนปัญหาอุปสรรค์ที่เกิดขึ้นในลักษณะต่าง ๆ เพื่อมาศึกษาเป็นข้อมูลเบื้องต้น ในอันที่จะนำมาพัฒนาสวนนกชัยนาท และเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับเจ้าหน้าที่และผู้ที่เกี่ยวข้องทุกระดับ แต่เป็นที่น่าเสียดายที่การก่อสร้างสวนนกชัยนาทยังไม่คืบหน้าไปเท่าที่ควร นายกุศล ศานติธรรม ก็มาประสบปัญหาสุขภาพและเสียชีวิตเสียก่อน

ดร.ไพรัตน์ เตชะรินทร์ ได้มาดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดชัยนาท คนต่อมา (เมื่อวันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๒๗) ได้ดำเนินงานสานต่อโครงการสวนนกชัยนาท โดยได้ระดมทรัพยากรทั้งภาคราชการและภาคเอกชน ร่วมมือกันอย่างเต็มกำลังความสามารถ ได้พัฒนาสวนนกด้านต่าง ๆ ท่ามกลางปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นอย่างมากมาย อาทิ สภาพบริเวณเขาพลองมีแต่บ่อลูกรัง และหินดานใต้พื้นดิน ซึ่งไม่แน่ชัดว่าจะสามารถทำการพัฒนาต่อไปได้หรือไม่ รวมทั้งเสียงคัดค้านกับเสียงสนับสนุนจากหลายฝ่ายที่ก้ำกึ่งกัน นอกจากนี้บริเวณดังกล่าวยังถูกประชาชนซึ่งส่วนใหญ่เป็นแรงงานรับจ้างที่มีรายได้ไม่แน่นอนจำนวน ๑๐๐ กว่าหลังคาเรือนบุกรุกอีกด้วย ดร.ไพรัตน์ เตชะรินทร์ ได้นำทีมพัฒนาสวนนกโดยสร้างกิจกรรมต่าง ๆ ให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีการขยายพื้นที่ออกไปถึง ๒๖๐ ไร่เศษ ให้กว้างขวางออกไปตามความจำเป็นได้อย่างเหมาะสม เพื่อรองรับความเจริญเติบโตที่เกิดขึ้นและมีการประชาสัมพันธ์อย่างทั่วถึง ทำให้จังหวัดชัยนาทมีชื่อเสียง โด่งดัง เป็นที่รู้จักแพร่หลายทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ หลั่งไหลกันเข้ามาเยี่ยมชมสวนนกชัยนาทเป็นจำนวนมากผู้ว่าราชการจังหวัดชัยนาท อีกหลายท่านต่อมาได้ดำเนินงานสานต่อ ในการที่จะพัฒนาสวนนกชัยนาทให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ สร้างความประทับใจให้แก่ผู้มาเยือน โดยพัฒนาสิ่งที่มีอยู่เดิมและสร้างสิ่งใหม่ ๆ ให้เกิดขึ้นเพื่อความสมบูรณ์แบบ และให้สวนนกชัยนาทเป็นความภาคภูมิใจของพี่น้องประชาชนชาวชัยนาทอย่างแท้จริง

5. แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
     


เว็บไซต์ Google (www.Google.com)เป็นเว็บไซต์ที่ให้บริการในการค้นหาข้อมูลในโลกของอินเตอร์เน็ต โดยค้นหาข้อมูลจากข้อความ หรือตัวอักษรที่พิมพ์เข้าไป แล้วทำการค้นหาข้อมูล รูปภาพ หรือเว็บเพจที่เกี่ยวข้องนำมาแสดงผล เว็บไซต์ Google ได้รับความนิยมอย่างมากในกลุ่มผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตที่ต้องการค้นหาข้อมูล

       e-Book ย่อมาจากคำว่า Electronic Book หมายถึงหนังสือที่สร้างขึ้นด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ มีลักษณะเป็นเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ โดยปกติมักจะเป็นแฟ้มข้อมูลที่สามารถอ่านเอกสารผ่านทางหน้าจอคอมพิวเตอร์ ทั้งในระบบออฟไลน์ และออนไลน์
คุณลักษณะของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถเชื่อมโยงจุดไปยังส่วนต่าง ๆ ของหนังสือ เว็บไซต์ต่าง ๆ ตลอดจนมีปฏิสัมพันธ์และโต้ตอบกับผู้เรียนได้ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น